วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร

บทที่1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร


ความหมายของนวัตกรรม
          นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน  แปลว่า  ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา  ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ  การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่  เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  หรือก็คือ  การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น  โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง  (Changs)  ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส  ( Opportunity)  และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล

นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร

นวัตกรรมในองค์กร
ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น

อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิด Value Creation คือ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่นเอง

องค์ประกอบของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่
2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
3. เป็นประโยชน์  ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
4. เป็นที่ยอมรับ
5. มีโอกาสในการพัฒนา
นวัตกรรมมี  4  ประเภท
1. product  innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการของ  
2. Process  innovation :  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวน การนำเสนอผลิตภัณฑ์
3. Position  innovation :  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์  โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า 
4. Paradigm  innovation :  การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด                                                                                   

ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
        “เทคโนโลยีเป็นความรู้หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย  อย่างเช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลในปัจจุบันที่ใช้อย่างแพร่หลาย  เรียกว่าเทคโนโลยี  ส่วน นวัตกรรมนั้นจะคล้าย ๆ กับเทคโนโลยี  แตกต่างกันตรงที่ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่  อาจจะดีไม่เท่าหลังจากที่กลายเป็นเทคโนโลยีแล้วและยังใช้กันไม่แพร่หลายนั่นเอง  เช่น  กล้องถ่ายรูปโบราณ ๆ  ในสมัยก่อนที่พึ่งริเริ่มประดิษฐ์

           นวัตกรรม”  หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
                    1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
                    2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
                    3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

สำนักงานการอุดมศึกษา  (2546  :  2)  นวัตกรรม  มี  6 ประเภท  คือ

1.       นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา  เช่น  การศึกษารายบุคคล  ระบบการสอนทางไกล
การสอนระบบเปิด  การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2.       นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ  หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3.       นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน  เช่น  การสอนเป็นคณะ  ชุดการสอน  บทเรียน
โปรแกรม  ศูนย์การเรียน  การเรียนด้วยตนเอง  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การสอนแบบ  คอนสทรัคทิวิสซึ่ม  การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่(ร่วมมือกัน)
4.       นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี  เช่น  สไลด์  วีดีทัศน์  วิทยุ  โทรทัศน์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)  การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  หรือ  อินเทอร์เน็ต  (Web -  based  Instruction) หรือ  e- learning
5.       นวัตกรรมด้านการประเมินผล  เช่น  การวัดผลแบบอิงกลุ่ม  อิงเกณฑ์  การวัดผล  ก่อน
เรียน  การวัดผลหลังเรียน  การวิเคราะห์ข้อสอบ
6.        นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา  การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ  การใช้คอมพิวเตอร์
จัดเก็บข้อมูล

ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
             - คิดหรือทำขึ้นใหม่
            - เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า
            - คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
            - เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี
           - สถานณ์การเอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2.เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3.นำมาใช่หรือปฎิบัติได้ดี
4.มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน

สรุป..
นวัตกรรม หมายถึงการคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ให้มีเกิดขึ้น หรือการนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาทำให้เกิดประโยชน์ที่เป็นสิ่งใหม่ หรือการประยุกต์การใช้งานนวัตกรรมที่เป็นของเดิมจากที่อื่น มาเป็นของใหม่กับตัวเรา เพื่อให้เกดประโยชน์สูงสุดในด้านการพัฒนาด้านต่าง ๆ